วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

มะม่วง









มะม่่วง 

          เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์Mangifera indicaเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน[1] มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง


ส้มโอ




ส้มโอ 

  
       เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)[1] มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง[2] แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สตรอเบอร์รี่


สตรอเบอร์รี่


 สตรอเบอร์รี่ผลไม้สีหวานสดใสนี้นอกจากจะกินอร่อยแล้ว ยังอุดมไปด้วยประโยชน์ทั้งสารต้าน อนุมูลอิสระ สารอาหารต่าง ๆ ตั้งแต่โฟเลต วิตามินซี แคลเซียม แมกนีเซียม โปรแตสเซียม ไฟโตนิวเทรียนท์ ไฟเบอร์ ฟลาโวนอยด์ กรดฟีโนลิก กรดเอลลาจิก ฯลฯ สตรอเบอร์รี จึงเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพด้วยสรรพคุณที่เกินพิกัด...ช่วยดูแลสายตา สารต้านอนุมูลอิสระในสตรอเบอร์มีส่วนช่วยชะลอขบวนการเสื่อสภาพของดวงตาได้

มะขามป้อม






มะขามป้อม 

มะขามป้อมเป็น สมุนไพรไทยราคาถูกที่อุดมไปด้วยวิตามินซีมากกว่าแอปเปิ้ลถึง 160 เท่า ถ้ากินเล่นแทนลูกอมจะ ช่วยให้สุขภาพแคล้วคลาดจากโรคไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันการเกิดพิษโลหะหนัก และโรคมะเร็งตับได้ ที่สำคัญวิตามินซีในมะขามป้อมจะไม่ละลายไปเหมือนในผลไม้อื่น ถึงแม้จะเอาไปเชื่อม แช่เย็น หรือ อบแห้ง เพราะมันมีสารเทนนินและโพลีฟีนอที่ช่วยป้องกันการออกซิไดซ์ของวิตามินซี
 
 

คะน้า

 


 คะน้า


คะน้าเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี แคโรทีนอยด์ และ โฟเลต นอกจากนี้ ยังมีสาร “ลูทีน” ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเลนส์ตา ผลจากงานวิจัย พบว่า การกินอาหารหรือพืชผักที่มีสารลูทีนสูง เช่น คะน้า จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกลงได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่กิน นอกจากนี้ การกินคะน้าเป็นประจำ ยังช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ปอด และเต้านมอีกด้วย ป้องกันโรคต้อกระจก 

มะละกอ

 


ประโยชน์ของมะละกอ


มะละกอถูกนำมาใช้บริโภคเป็นผักได้หลายส่วนด้วยกัน เช่น ผล(ดิบ) ยอด ใบ และลำต้น ส่วนที่ใช้มากที่สุด คือ ผลดิบ ซึ่งอาจใช้บริโภคดิบก็ได้ เช่น นำมาปรุงตำส้มที่ชาวไทยรู้จักดี หรือนำมาทำให้สุกเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นต้ม (หรือต้มกะทิ) เป็นผักจิ้ม แกงส้ม ต้มกับเนื้อ ฯลฯ นอกจากนี้ยังนำเนื้อมะละกอดิบมาดองกับน้ำส้มเป็นผักดอง หรือนำเนื้อมะละกอมาดองเกลือ ตากแห้ง เป็นตังฉ่าย ใช้ปรุงอาหารจีนก็ได้
ยอดอ่อนและใบมะละกอ ก็นำมาใช้ปรุงอาหารเป็นผักได้เช่นเดียวกัน แต่ในเมืองไทยยังไม่นิยมกัน อาจจะเป็นเพราะรังเกียจความขมหรือยางในใบและยอด แต่ในหลายประเทศนิยมกันมาก เช่น บนเกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย เป็นต้น ข้อดีประการหนึ่งของการนำใบและยอด มะละกอมาบริโภคเป็นผัก ก็คือ มีคุณค่าทางอาหารสูง ทั้งโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ชนิดต่างๆ จึงอยากขอฝากให้ชาวไทยที่มีฝีมือในการปรุงอาหาร ช่วยนำใบและยอดมะละกอมาทดลองประกอบอาหาร ให้ มีรสชาติที่คนไทยยอมรับ เป็นอาหารไทยชนิดหนึ่งได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อคนไทยในอนาคตมาก
ในส่วนลำต้นมะละกอนั้น เมื่อปอกเปลือกด้านนอกออก จะได้เนื้อภายในที่มีสีขาวครีมและค่อนข้างอ่อนนุ่ม คล้านเนื้อผักกาดหัวจีน (ไชเท้า) จึงสามารถนำมาปรุงอาหารได้เช่นเดียวกับผักกาดหัว โดยเฉพาะนำมาดองเค็ม ตากแห้ง เหมือนหัวผักกาดเค็ม (ไชโป๊) มะละกอนับเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง เช่น เนื้อในผลซึ่งแม้คุณค่าจะด้อยกว่าใบและยอด แต่ก็นับว่าสูงโดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี แร่ธาตุเหล็ก และแคลเซียม เป็นต้น

สับปะรด

 


ประโยชน์ของสับปะรด



- ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้น ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ที่สำคัญคือวิตามินซีช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อ และต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ แต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก

- ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหารมาก ซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร และช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

- ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส ที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ ที่จะทำลายโครงสร้างของเซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ สารแอนตี้ออกซิแดนต์ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

- ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร เพราะสับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ที่ช่วยป้องกันอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวการก่อมะเร็ง และยังช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องกันมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งรังไข่

- ช่วยให้เหงือกแข็งแรง สับปะรดช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจากสับปะรดมีวิตามินซีสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้